วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Dinner at cuisine cave

almond

Almond nut

 

height=288   height=288

 

อัล มอนด์ เป็นถั่วประเภท Tree Nut ซึ่งให้คุณค่าสารอาหารต่อร่างกายมากกว่าถั่วประเภทคลุมดินอย่างถั่วลิสงหรือ ถั่วเขียว และอัลมอนด์ยังถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะมีคุณประโยชน์มากมาย จากงานวิจัยเชื่อว่าอัลมอนด์ 10 เมล็ด หรือ 23 ออนซ์ ในปริมาณนี้ทำให้ได้รับวิตามินอีเกือบครึ่งที่ควรได้รับต่อวัน และมีคุณค่าแอนตี้ออกซิแดนต์เท่ากับชาเขียวแท้ๆ 1 แก้ว อัลมอนด์ในปริมาณเศษ 1 ส่วน 4 ถ้วยตวง มีปริมาณแคลเซียมเท่ากับนมในจำนวนที่เท่ากัน ที่สำคัญก็คืออุดมไปด้วยแคลเซียมและสารสารต้านอนุมูลอิสระ

นอก จากนั้น ในต่างประเทศมีการวิจัยถึงประโยชน์ของอัลมอนด์อย่างจริงจังกันมานานแล้ว ซึ่งผลการวิจัยจากหลากหลายสถาบันให้ผลตรงกันว่าอัลมอนด์มีบทบาทกับสุขภาพ หัวใจอย่างมาก เพราะมีส่วนประกอบสำคัญอย่างกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน เมื่อรับประทานเป็นประจำ จึงมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างรับประทานอัลมอนด์เป็นอาหารเสริมเป็นเวลา 1 ปี โดย 6 เดือนแรก ให้รับประทานอาหารตามปกติและ 6 เดือนหลัง ให้รับประทานอัลมอนด์ในช่วงระหว่างมื้ออาหารประมาณ 52 กรัมต่อวัน เปรียบเทียบกันพบว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนเพิ่มขึ้น กรดไขมันอิ่มตัวลดลง คอเลสเตอรอลและน้ำตาลลดลง จึงส่งผลโดยตรงในการช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเบาหวานได้ถึง 30-50%

ถึงแม้อัลมอนด์จะมีสารอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่สูง แต่ไขมันจากอัลมอนด์นั้น เป็นไขมันที่ดีช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและจำเป็นต่อกระบวนการทำงานของร่างกาย ดังนั้น อัลมอนด์จึงเป็นอาหารที่ได้รับการแนะนำให้รับประทานเพื่อลดคอเลสเตอรอลและ รับประทานแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว โดยไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เราจึงรับประทานอัลมอนด์แทนของหวานหรือขบเคี้ยวระหว่างวันได้อย่างไม่ต้อง กังวล ทั้งยังมีไฟเบอร์ โปรตีนจากพืช วิตามินบี วิตามินดี และโอเมก้า3 ซึ่งจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างเซลล์ที่สึกหรอของผิวหนัง เส้นผม ทั้งยังช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัย รวมทั้งไฟเบอร์ที่ได้จากอัลมอนด์ยังช่วยลดการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ ใหญ่ได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูบจาก
http://www.vcharkarn.com/vblog/48282/2 วิชาการ.คอม
- www.salmonellablog.com/almonds5.jpg

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

pistachio

1

 

Pistachio Nut

  

ไทยนำเข้า Pistachio ทั้งหมดเฉกเช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก เนื่องจากปลูกและให้ผลดีเฉพาะในพื้นที่ภูเขาที่อากาศร้อนมากตอนหน้าร้อนและหนาวเย็นในฤดูหนาว ซึ่งได้แก่บริเวณเอเชียตอนกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย เช่น อิหร่าน อัฟกานิสถาน ซีเรีย เทือกเขา Kopet Dag ของ Turkmenistan ฯลฯ

ต้น Pistachio สูงได้ถึง 10 เมตร มีต้นตัวผู้และตัวเมีย ในต้นตัวเมียผลของมันออกเป็นพวงคล้ายลำไย ปัจจุบันปลูกเป็นสวนควบคุมไม่ให้ต้นสูงเพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ง่าย ใช้เวลา 7-10 ปีกว่าที่จะออกผลเป็นกอบเป็นกำและให้ผลสูงสุดเมื่อมีอายุ 20 ปี Pistachio จะให้ผลดกและไม่ดกสลับปีกัน

เมื่อสมัยก่อน Pistachio ที่ส่งออกเปลือกจะย้อมสีแดงเพื่อลบรอยขีดข่วนบนเปลือกเนื่องจากการเก็บเกี่ยวด้วยมือ ปัจจุบันเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรเกือบทั้งหมดจนไม่มีรอยขีดข่วนอีกต่อไป เราจึงได้เห็นเปลือกสีน้ำตาลตามธรรมชาติ

อิหร่านเป็นยักษ์ใหญ่ของการส่งออก Pistachio ในโลก ปริมาณหนึ่งในสามของ Pistachio ที่บริโภคกันในโลกไปจากประเทศนี้ที่มีพลเมืองเกือบ 70 ล้านคน บนพื้นที่เป็นสามเท่าของไทย Pistachio เป็นสินค้าเกษตรสำคัญของอิหร่านเพราะมูลค่าส่งออกของมันเท่ากับครึ่งหนึ่งของสินค้าเกษตรส่งออกทั้งหมดของอิหร่าน

Pistachio โดดเด่นมากในด้านคุณค่าอาหาร ให้ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ไม่มีคอเลสเตอรอลเลย มีโซเดียมต่ำ ให้ fiber สูง ในเรื่องแร่ธาตุและวิตามิน Pistachio ให้ธาตุเหล็กถึงร้อยละ 29 แคลเซียมร้อยละ 14 วิตามิน A ร้อยละ 6 และวิตามิน C ร้อยละ 5

ที่น่าสนใจก็คือ Pistachio ให้สารวิตามินที่มีชื่อว่า Lutein และ Zeaxanthin สูงเป็นพิเศษ

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ค่อนข้างสนับสนุน (ยังไม่มีหลักฐานหนักแน่นจนเป็นที่ยอมรับ) ข้อสงสัยที่ว่าการบริโภค Lutein และ Zeaxanthin ในปริมาณมากพอควร เกี่ยวพันกับการลดลงของความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก (cataract)

ใครที่ชอบ Pistachio และเห็นว่าให้คุณค่าทางอาหารสูง คงจะต้องระวังการบริโภคถั่วนี้ในไทยที่อาจมี Alfatoxin สูงเพราะอาจเป็น Pistachio ที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้า EU และประเทศอื่นๆ จึงถูกส่งมาขายให้บ้านเราที่ผู้บริโภคขาดความรู้ และมีการควบคุมหละหลวม ชนิดที่ขายกันเป็นถุงโดยไม่มีป้ายอาจเป็นถั่วประเภทถูกส่งกลับก็ได้

มี ผลวิจัยว่าหากรับประทาน 3 มื้อต่อวัน จะช่วยลดความดันโลหิตและความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอูทีนและเบตาแคโรทีนที่เป็นหนึ่งในสารแอนตี้ออกซิแดนต์ ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล แค่เพียง 1 ออนซ์ หรือ 45 เมล็ด เป็นถั่วสัญชาติฝรั่ง หาได้ในไอศกรีมและเบเกอรี่ มีวิตามินเอ ไฟเบอร์สูง มีแร่ธาตุทองแดง แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินบี ทำงานร่วมกันช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ป้องกันโรคหัวใจ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการ.คอม

http://www.vcharkarn.com/vblog/48282/1


ความรู้เรื่องถั่ว

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ถั่วรูปกลมๆ รีๆ หลากหลายรูปแบบ รสชาติหวานมัน แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่าเจ้าถั่วนานาชนิดเหล่านั้น นอกจากรสชาติที่น่าเอร็ดอร่อยแล้ว ยังเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพมาเนิ่นนาน แต่จะกินชนิดไหนดีล่ะที่จะทำให้เราได้สารอาหารตรงตามต้องการ เพราะกำลังจะกล่าวถึงอาหารกินเล่น ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งยังสามารถรับประทานได้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมผสานในอาหารคาวหวานได้อย่างกลมกล่อมนานาชนิด แล้วจะดีขนาดไหน หากได้รู้ว่าถั่วเกือบทุกชนิดนั้นมีวิตามินสูง มีคอเลสเตอรอลน้อย และมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่เต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเลือกรับประทานแบบไหนก็ได้คุณค่าเต็มๆ
 
ถั่วที่เรากิน เป็นผัก มักกินทั้งฝักและเปลือก ฝรั่งมักเรียกว่า Beans เล่ากันว่าน่าจะเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักเพาะปลูก ถั่วจำพวก Beans และ Peas หรืออะไรที่ลงท้ายด้วยคำเหล่านี้ มักกินทั้งเปลือกที่หุ้มเมล็ดอยู่ภายใน เช่น ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพุ่ม ส่วนถั่วเหลืองต้องเอาเปลือกหุ้มออกแล้วแกะเมล็ดออกมา ถั่วเหลืองเรียกว่า Soy Bean
 
ผักจำพวกถั่ว เป็นอาหารที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานเป็นประจำอยู่แล้ว อะไรที่เป็นสีเขียวๆ เป็นพืชกินได้ย่อมดีต่อสุขภาพ ส่วนถั่วเปลือกแข็งเรียกว่า Nuts ที่ต้องกะเทาะเปลือกออกก่อน เอาเมล็ดไปอบหรือคั่วให้สุก กำลังเป็นอาหารว่างแนะนำของคนรักษ์สุขภาพทั่วโลก ชาวตะวันตกบอกว่านัตไม่ใช่ถั่ว แต่เป็น ผลไม้แห่งต้นไม้แถมได้คุณค่าสารอาหารครบ ชาวแมคโครไบโอติกส์นิยมกันนัก
 
ถั่วเป็น อาหารที่ดีที่สุดอีกชนิดหนึ่งที่คนเราควรรับประทาน โดยข้อมูลจากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านโภชนาการอาหารได้แก่ ผักหลากหลายชนิด ผลไม้และไวน์แดงรวมทั้งผิวของถั่วต่างก็พบว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น ปัจจุบันองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำให้รับประทานถั่ววันละ 1 กำมือ เพื่อลดไขมันและโดยทั่วไปถั่วจะมีผลดีต่อร่างกายดังนี้
 
ไขมันใน ถั่วชนิดต่างๆ จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ในถั่วจะมีน้ำมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ
ประกอบ ไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันเซลล์ในร่างกายของเราเพื่อไม่ให้เกิด โรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็งและโรคหัวใจ โดยมีองค์ประกอบของวิตามินอี เซเลเนียม กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก และไฟเบอร์
หากพูดถึงถั่วอบหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นอาหารจานโปรดของนักกีฬาชื่อดังหลายคน ที่ทำให้พวกเขามีพลังในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน มาดูพลังมหัศจรรย์ของถั่วแต่ละชนิด

ขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการ.คอม

http://www.vcharkarn.com/vblog/48282/1

 


กระเจี๊ยบ

1

 

กระเจี๊ยบแดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ :  Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

1.      เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

2.      ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

3.      น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

4.      ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

5.      น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

6.      ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

7.      เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

8.      เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

  1. ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  2. ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  3. ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  4. เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี

ดอก  พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin

คุณค่าด้านอาหาร

แยม หรือใช้เป็นน้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่สารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงน้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01.htm


กระเจี๊ยบ

1

 

กระเจี๊ยบแดง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ :  Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

1.      เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

2.      ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

3.      น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

4.      ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

5.      น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

6.      ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

7.      เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

8.      เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

  1. ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  2. ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  3. ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  4. เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี

ดอก  พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin

คุณค่าด้านอาหาร

แยม หรือใช้เป็นน้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่สารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงน้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01.htm


salt

5

 

เกลือ

เกลือโซเดียมและโปแตสเซียม

ประเทศไทยและอเมริกามีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก หลายคนรับประทานเกลือมากเกินไป ยิ่งรับประทานเกลือมากก็มีโอกาศที่จะความดันโลหิตสูง เมื่อความดันสูงโอกาศที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมีโอกาศมาก เราสามารถบดโอกาศเกิดโรคความดันโดยการลดเกลือดและเพิ่มโปแตศเซียม

ข้อเท็จจริงที่ควรจะทราบ

·        คนเราไม่ควรจะรับเกลือเกิน 2300 มก.( 1 ช้อนชา)ต่อวัน

·        เกลือที่เราได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารที่เรารับประทานประมาณร้อยละ 75 โดยเฉพาะอาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร เช่นน้ำมะเขือเทศจะมีเกลือ 700-1100 มิลิกรับต่อ 1 ถ้วย เกลือที่เราได้รับจากการปรุงเอง เช่นการใส่น้ำปลา การกินผลไม้จุ้มพริกเกลือมีประมาณร้อยละ 10 ดังนั้นในการควบคุมเกลือในอาหารควรจะคุบประเภทอาหารที่เรารับประทาน เช่น ปลาเค็ม อาหารสำเร็จรูปทั้งหลาย หรือควรจะอ่านสลากอาหารก่อนรับประทานทุกครั้งเป็นต้น

·        คนที่เป็นความดันโลหิตสูง หรือกลางคนขึ้นไป และเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ต้องรับประทานเกลือโปแตสเซียมวันละ 4700 มิลิกรัม

·        วิธีการลดเกลือทำได้โดยการรับประทานอาหารสด ปรุงเอง และใส่เกลือให้น้อยที่สุด และไม่มีการเติมเกลือหรือซ็อสในอาหาร เมื่อร่างกายเริ่มคุ้นกับอาหารรสจืดแล้วเขาจะไม่เรียกร้อยหาเกลืออีก

·        การรับประทานเกลือโปแตสเซียมจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้

o        ผู้ใหญ่ให้รับประทาน 4700 มิลิกรัมต่อวัน

o        เด็ก 1-3 ปีให้รับประทาน 3000 มิลิกรัมต่อวัน

o        เด็ก 4-8 ปีให้รับประทาน 3800 มิลิกรัมต่อวัน

o        เด็ก 9-13 ปีให้รับประทาน4500 มิลิกรัมต่อวัน

·        เกลือโปแตสเซียมควรจะได้จากอาหารธรรมชาติ เช่น ผัก โดยเฉพาะผักใบเขียว ผลไม้ ส่วนเนื้อสัตว์หรือนมก็มีเกลือชนิด

นี้อยู่ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ได้ทันที

รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ

เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัม(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) ท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด   ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  

·   เปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงรส

·   ใช้มะนาว พริก เครื่องเทศปรุงอาหารแทนเกลือหรือน้ำปลา

·   หากท่านซื้ออาหารกระป๋องท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ

·   รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร

·   ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ

·   หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง

·   อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง

·   เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง

·   อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง

·   อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง

·   เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู

·   อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน

คุณภาพของเกลือ

เกลือแกงที่เราใช้ปรุงแต่งรสชาติของอาหารและใช้ในการถนอมอาหารประเภทต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเกลือทะเล และมีบางส่วนที่ใช้เกลือสินเทาว์

คุณภาพของเกลือที่นำมาใช้เหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือ วิธีการผลิตและแหล่งที่ทำการผลิต

เกลือทะเล เป็นเกลือที่ได้มาจากการนำน้ำทะเลมาเก็บกักไว้ในนา และทิ้งไว้ให้แดดเผาจนน้ำระเหยออกไปมากๆ เกลือที่ละลายอยู่ในน้ำทะเลจะเข้มข้นมากขึ้น เมื่อถึงระดับหนึ่งจะตกเป็นผลึกสีขาวออกมา เมื่อผลึกเกลือหนาพอสมควรแล้ว ชาวนาเกลือจะเปิดหรือดึงน้ำทะเลเข้มข้นให้เหลืออยู่ที่ผิวบนไปเก็บไว้อีกที่หนึ่ง แล้วตากผลึกเกลือต่อไปจนแห้งดีแล้วจึงรวบรวมเก็บไว้จำหน่าย คุณภาพของเกลือทะเลที่ได้ จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำทะเลที่ใช้ และวิธีเก็บรวบรวม ปกติเกลือทะเลจะมีแร่ธาตุหลายชนิดรวมทั้งพวกไอโอดีนปนเปื้อนมาด้วย ซึ่งบางชนิดก็อาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าเป็นเกลือทะเลที่มีการนำมาตกผลึกใหม่ เกลือที่ได้ก็ค่อนข้างจะบริสุทธิ๋

ผู้ผลิตมักนำมาป่นบรรจุเป็นถุงเล็กๆขายได้ราคาดีขึ้น ถ้าต้องการเกลือแกงบริสุทธิ๋มากๆ ก็ทำการตกผลึกหลายๆครั้ง

เกลือชนิดนี้นอกจากนิยมใช้ปรุงแต่งรสอาหารแล้ว ยังใช้ในการถนอมอาหารได้ดี มีราคาถูก แต่ในระยะหลังๆ เมื่อป่าชายเลนถูกทำลาย และมีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำตามชายฝั่งทะเลมากขึ้น น้ำเสียจากนากุ้งทำให้น้ำทะเลที่ใช้ในนาเกลือสกปรก เกลือทะเลที่ผลิตได้จึงมีคุณภาพด้อยลงมาก เมื่อนำไปใช้ในการถนอมอาหารต่างๆ จะทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ลดลง รสชาติเปลี่ยนไปและเกิดการเสียหายได้ง่าย ดั้งนั้นผู้ผลิตบางรายจึงหันไปใช้เกลือชนิดหนึ่งแทน

เกลือสินเทาว์ เป็นเกลือที่ได้จากการตกผลึกของเกลือแกงสะสมอยู่ในดิน ซึ่งมีมากทางภาคอีสาน เมื่อต้องการผลิตเกลือชนิดนี้ต้องใช้น้ำละลายเกลือออกมาก่อนแล้วระเหยน้ำให้แห้งเกลือที่ได้จะค่อนข้างบริสุทธิ์ มีการปนเปื้อนของแร่ธาตุต่างๆน้อย ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆทั้งทางเคมีและอาหาร เกลือชนิดนี้จะไม่มีสารไอโอดีนปะปนมา ดังนั้นถ้าใช้เป็นเกลือบริโภค จึงต้องเติมสารไอโดดีนผสมลงไปด้วย เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน ปัจจุบันการผลิตเกลือชนิดนี้ ยังมีปัญหาอีกมากที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

ดอกเกลือ...ของไทย

ในความเป็นจริงแล้ว ชาวนาเกลือในประเทศไทยก็ได้ผลิตดอกเกลือมานานนับร้อยปีมาแล้ว โดยเฉพาะที่ บ้านบางตะปูน ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

 พอฟ้าเริ่มสาง อาทิตย์ทอแสงสีทองอ่อน ๆ น้ำทะเลในผืนนาเกลือจะถูกแดดและลมพัดให้แห้งจนได้ความเค็มประมาณ 20-25 ดีกรี เกิดเกสรเกลือ หรือ เกลือแรกเริ่มตกผลึก ชาวนาเกลือเรียกว่า ดอกเกลือ  ซึ่งจะเป็นผงเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นแพอยู่เหนือน้ำผืนนาเกลือ ดังนั้นชาวนาเกลือจะต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อรีบช้อนดอกเกลือ ก่อนที่แสงแดด และสายลมจะทำให้ดอกเกลือจมลงด้านล่าง

กล่าวกันว่า ดอกเกลือที่เก็บได้ในเวลาเช้าตรู่นี้จะมีไอโอดีนสูง มีสีสันขาวเป็นประกายแวววาว รสชาติเค็มอมหวาน เป็นดอกเกลือที่สะอาด เพิ่งเกิดใหม่ๆ ไม่ได้สัมผัสกับพื้นดิน หรือตากลม ตากฝุ่นอยู่นาน  มีแร่ธาตุต่างๆสูงมาก จึงมีคุณภาพสูง อีกทั้งเพราะมีปริมาณน้อย ราคาจึงแพง (เสียดายไม่สามารถหาข้อมูลวิชาการอ้างอิงได้ เรื่องแร่ธาตุในดอกเกลือของเรา)

 

โดยปกติแล้วเกลือนั้นหากขายปลีกกันจะตกอยู่ที่ กิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่หากเป็นดอกเกลือนี้จะราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 10 - 15 บาททีเดียว

 

 ดอกเกลือ จึงเปรียบเสมือนอัญมณีที่ล้ำค่าของชาวนาเกลือ ซึ่งเป็นที่หวงแหนมาก เพราะมีน้อย ชาวนาเกลือจึงเก็บดอกเกลือไว้ใช้เองทั้งบริโภค และประทินผิวพรรณเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านของชาวนาเกลือ เก็บไว้ล้างแผลบ้าง เก็บไว้แจกจ่ายผู้มาเยือนบ้าง

 

ผู้เขียนเคยได้ดอกเกลือมาจากสมุทรสงครามถุงหนึ่งราวๆหนึ่งกิโลกรัม ก็ใช้ทำกับข้าวแทนการใช้น้ำปลา คือเอามาต้มยำทำแกง ไม่ได้ประดิดประดอยใช้อย่างที่ฝรั่งใช้ Fleur de Sel

 

คิดเล่นๆว่าฝรั่ง(เศส)ผลิต Fleur de Sel ได้ปีละครั้งเท่านั้น เมืองไทยมีโอกาสผลิตได้ยาวนานกว่าเพราะมีแสงแดดเกือบทั้งปี หากเรารักษาสิ่งแวดล้อมได้ดี ทะเลสะอาด น้ำทะเลที่จะใช้มาผลิตเกลือสะอาด กรรมวิธีผลิตแบบดั้งเดิมโดยภูมิปัญญาไทยของเรา การวิจัยคุณค่าของแร่ธาตุสารอาหารดอกเกลือของเราเปรียบเทียบกับของต่างประเทศให้ได้รู้กันแจ้งๆไปเลย และ การวิจัยพัฒนาเพื่อนำดอกเกลือมาผลิตเครื่องสำอาง อาจจะช่วยส่งเสริมให้อาชีพการทำนาเกลือยังคงอยู่ และสร้างรายได้จากการทำนาเกลือเพิ่มขึ้น

 

ปัญหาของคนไทยคือ เรามักไม่ค่อยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของเราเอง  หากต้องการจะยกย่องก็ทำเป็นครั้งๆ(มักทำเพื่อให้ผู้พูดดูดี) เป็นแนวโรแมนติค รำลึกโหยหาความโบราณ มากกว่าจะกล่าวยกย่องอย่างมีข้อมูลน่าเชื่อถือ ประกอบเข้ากับเรื่องราวที่มาของภูมิปัญญาของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

 

ทะเลไทยอยู่ในเขตร้อน ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีแร่ธาตุสารอาหารมากกว่าทะเลเขตหนาวอย่างยุโรปด้วยซ้ำ ผู้เขียนมีเพื่อนคนหนึ่งทำร้านอาหารไทยชื่อดัง และเขียนตำราอาหารไทยและเอเชีย อยู่ที่ซานฟรานซิสโก เธอมาเมืองไทยครั้งใด ขากลับทุกครั้งต้องซื้อ "เกลือไทย" กลับไปอเมริกาทุกครั้ง ผู้เขียนเคยถามว่าอเมริกาก็มีเกลือขายมากมาย เกลือไทยถูกกว่าหรือจึงต้องหอบไปให้หนัก เธอตอบว่า ไม่ใช่ถูกกว่า แต่นำไปปรุงอาหารแล้วได้รสชาติดีกว่าเกลือฝรั่ง

 

ผู้เขียนขอตัวไปทดสอบรสชาติ Fleur de Sel ที่ได้มาซักหน่อย ดูซิว่าอาหารจะอร่อยขึ้นแค่ไหน เสียดายที่ดอกเกลือที่บ้านใช้หมดแล้ว คงต้องทดลองเปรียบเทียบรสชาติกันทีหลัง

 

ระหว่างค้นข้อมูลจากกูเกิ้ล พบภาพสวยๆและเรื่องเกี่ยวกับนาเกลือมากมาย ลิงค์ที่ยกมาภาพเขาสวย คมชัดมากเลยค่ะ ขอชวนไปชมกันนะคะ

 

 ดีเกลือ คือสารประกอบเกลือซัลเฟตของโซเดียมและแมกนีเซียม แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ดีเกลือไทยและดีเกลือฝรั่ง ซึ่งทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติและลักษณะแต่งต่างกัน ได้แก่...

1. ดีเกลือไทย มีสูตรทางเคมีว่า Na2SO4 ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม หรือเรียกง่ายๆว่า "โซเดียมซัลเฟต" มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม มีคุณสมบัติเป็นถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพรรดึก (พรรดึก (อ่านว่า พัน-ระ-ดึก) คือชื่อที่ใช้เรียกโรคทางแผนโบราณชนิดหนึ่งที่เกิดจากการที่มีอาหารคั่งค้างอยู่ภายในท้อง ทำให้เกิด อาการท้องผูกอย่างแรง ผู้ป่วยจะมีอุจจาระที่แข็งมาก และมีลักษณะเป็นเม็ดๆ คล้ายกันกับมูลแพะ)ให้เส้นเอ็นหย่อน

2. ดีเกลือฝรั่ง มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4.7H2O ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า "แมกนีเซียมซัลเฟต" เรียกเป็นภาษาสามัญแบบฝรั่งว่า Epsom salts มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือใส คล้ายผงชูรส ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ รสเค็ม

มีคุณสมบัติเป็นยาระบายถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต นิยมนำเอามาใช้ในการรักษาปลา และยังมีการนำไปใช้ในการเกษตรเรื่องเอาไปช่วยรักษาดินที่ขาดแมกนีเซียม นอกจากนี้สาวๆ ยังนิยมนำไปเป็นส่วนผสมในการรักษาสิวแบบประหยัดอีกด้วย

ดีเกลือทั้งสองแบบมีคุณประโยชน์คล้ายกัน แต่โดยส่วนมากดีเกลือที่มีในท้องตลาดจะเป็นแมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือฝรั่ง) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสารเคมีทั่วไป หรือร้านขายยาแผนโบราณ โดยมีคุณสมบัติ ได้แก่...

ใช้เพื่อกินเป็นยาระบาย โดยผสมน้ำ 3 ถ้วยต่อดีเกลือ 4 ช้อนโต๊ะ

ใช้ในบ่อกุ้ง เพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียม ช่วยกุ้งสร้างเปลือกใหม่ ในช่วงลอกคราบ

ใช้ประกอบอาหาร อาทิ เต้าหู้ ดีเกลือจะช่วยแยกชั้นเนื้อและชั้นน้ำของถั่วเหลืองปั่น

ใช้ในการขับไล่สารพิษในไต

ใช้เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชประเภทผล เช่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง

คุณสมบัติทางเคมี

ดีเกลือฝรั่งใช้ชื่อทางเคมีว่า แมกนีเซียมซัลเฟต Magnesium Sulfate MgSO4 ชื่อสามัญเรียกว่า Epsom Salt หรือ Bitter Salt เหตุเพราะมีรสขมฝาด ไม่ได้เค็มเหมือนเกลืออย่างที่เข้าใจ

ลักษณะที่ใช้กันจะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดขาว ซึ่งได้มาจากการนำน้ำทะเลมาเคี่ยวจนแห้ง เหลือเป็นเกลือสะตุ แต่ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นจากอากาศอยู่ ดังนั้น เมื่อวางดีเกลือทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้จับตัวแข็งเป็นก้อน