ผู้ทำงานแต่ละคนในอุตสาหกรรมการบริการอาหารจำเป็นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับตนเองและต่อส่วนรวม อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองไม่ได้ แต่จะถูกทำให้เกิดขึ้น อันอาจเนื่องจากผู้ทำงานไม่รู้จักวิธีการทำงานที่ถูกต้อง หรือไม่มีความระมัดระวัง สะเพร่าการปฏิบัติงาน หรือไม่สนใจในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ไม่ใช่ผู้ทำงานเพียงคนเดียวที่จะเกิดอันตรายในอุบัติเหตุนั้น แต่จะก่อให้เกิดผลเสียหายและความล่าช้าของงานต่อบุคคลอื่นๆ หรือส่วนรวมด้วย
ชนิดของอุบัติเหตุ (Types of Accident)
การดำเนินงานของอุตสาหกรรมการบริการอาหาร ซึ่งต้องใช้เครื่องใช้ อุปกรณ์ หลายชนิด มักเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่าย เช่น
1. มีดบาก
2. ไฟลวก
3. ลื่นหกล้ม
4. ปวดเมื่อย
อุบัติเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ทำงานที่ไม่มีความระมัดระวัง หริทำงานอย่างสะเพร่าดังนั้น เจ้าหน้าที่ควบคุมจำเป็นต้องดูแลการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมการบริการของตน
1. มีดบาด (Cuts)เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเสมอกับพนักงานที่ทำหน้าทีผลิตอาหาร เนื่องจากต้องใช้มีด การถูกมีดบาดสามารถทำให้ลดความบ่อยครั้งลงได้ ถ้าผู้ทำงานทำงานโดยใช้สมองปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยของการทำงาน และฝึกหัดตนเองให้รู้จักวิธีการใช้มีดอย่างถูกต้อง และเมื่อพนักงานเกิดความชำนาญกับการใช้มีดหรือของมีคมชนิดต่าง ๆ แล้วอุบัติตุจากการถูกมีดบาดก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากวิธีการใด ๆ ก็ตามจำเป็นต้องรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องทันที มิฉะนั้นอาการอักเสบจะเกิดขึ้นทำให้การรักษายากขึ้นและพนักงานจะเสียเวลาการทำงานไปโดยไม่จำเป็น สิ่งที่ผู้ทำงานควรจดจำในขณะทำงานคือ กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน
2. ไฟลวก (Burns) เป็นอุบัติเหตุทีเกิดขึ้นได้เสมอ เช่นเดียวกันกับมีดหริอชองมีคมบาด ไฟลวกที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบริการ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ไฟลวกเล็กน้อย และรุนแรง แบบเล็กน้อยเกิดขึ้นเนื่องจากน้ำมันบนเตากระเด็นถูกผู้ทำงานหรือใช้ผ้าที่ชื้นยกภาชนะที่ร้อนทำให้ความร้อนส่งผ่านมาโดนมือของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงควรใช้ผ้าแห้งหรือถุงมือในการหยิบยกของร้อนต่าง ๆ สำหรับไฟลวกรุนแรง เช่น น้ำมันทีร้อนหกรดผู้ทำงานหรือน้ำร้อนลวก หรือโดนความร้อนบนเตา หรือไอน้ำร้อนพุ่งใส่ เป็นต้น ไฟลวกไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากวิธีการใด ๆ ก็ตาม จะรู้สึกเจ็บปวด ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปวดแสบปวดร้อน และรักษาให้หายได้ยากกว่าการถูกของมีคมบาด ดังนั้นเมื่อโดนไฟลวกให้รีบรักษาทันที โดยเฉพาะถ้าเป็นไฟลวกแบบตุนแรงต้องให้แพทย์รักษาอย่างถูกวิธี
3. ลื่นหกล้ม (Falls) อาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดในอุตสาหกรรมการบริการอาหาร เช่น เกิดทุพพลภาพ หรือไม่สามารถทำงาน แขนขาหัก หรือถึงกับเสียชีวิตได้ทำให้ความสามารถในการทำงานลดน้อยลง หรือไม่มีเลย สาเหตุของการลื่นหกล้มขิงผู้ทำงานอาจเนื่องจากความไม่ระมัดระวังในการทำงาน พื้นและทางเดินเปียกมีน้ำขัง อาหารหรือน้ำมันหกรดที่บริเวณทำงาน แสงสว่างไม่เพียงพอ การจัดวางเครื่องมืออุปกรณ์ไม่เหมาะสม เป็นต้น อุบัติเหตุชนิดนี้สามารถจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยการปฏิบัติตามหลักของความปลอดภัยในการทำงาน
4. ปวดเมื่อย (Strains) เป็นอุบัติเหตุที่ไม่ร้ายแรงเหมือนอุบัติเหตุอื่นๆทีกล่าวมาแล้ว แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด และไม่สามารถทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่งได้วิธีป้องกัน คือ อย่าพยายามยกของที่หนักเกินกำลังความสามารถของตน รู้จักวิธีการยกที่ถูกต้องและเดินอย่างระมัดระวังในขณะที่ยกของหนักอยู่ในมือ ส่วนใหญ่ของความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องอาศัยการรักษาพยาบาลจากแพทย์แต่ต้องใช้เวลาแบะความระมัดระวังแล้วความปวดเมื่อยก็จะค่อย ๆ หายเอง
กฎปลอดภัย (Safety Rules)
กฎปลอดภัยเกี่ยวกับการเตรียมอาหาร(Food Preparation)
1. ใช้ผ้าที่แห้งในการยก จับ ภาชนะที่ร้อน เนื่องจากผ้าเปียกชื้นจะนำความร้อนจากภานะสู่มือของผู้ทำงาน
2. ป้องกันการกระเด็นของน้ำมันบนเตาที่ร้อน เพราะน้ำมันจะก่อให้เกิดไฟได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ทำงาน และบริเวณข้างเคียง แต่ถ้าเกิดไฟลุกเนื่องจากน้ำมัน ห้ามใช้น้ำราด แต่ควรใช้ผ้าที่ชื้น หรือน้ำยาดับเพลิงเพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ
3. ควรเปิดฝาของภาชนะ โดยค่อยๆเผยอฝาทางด้านที่ห่างจากตัวผู้ทำงานเพื่อไม่ให้ไอน้ำของอาหารภายในภาชนะพุ่งใส่ผู้ทำงาน อันจะก่อให้เกิดไฟลวกที่มือหรือหน้า
4. ขณะยกภาชนะหรืออาหารที่ร้อน ผู้ทำงานต้องคอยให้สัญญาณบุคคลทีอยู่บริเวณข้างเคียงให้ระมัดระวัง และหลีกทางให้
5. ผ้าหรือวัสดุกันร้อนในการยกภาชนะหรืออาหารที่ร้อน และต้องระวังอย่าให้ปลายผ้าโดนเตาไฟ เพราะจะเกิดไฟลุกได้
6. อย่าเติมอาหารให้เต็มเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่ยังร้อนอยู่ เพราะจะหกรดผู้ที่เคลื่อนย้ายอาหารนั้น
7. ภาชนะที่มีด้ามถือที่ยาว อย่าให้ด้ามถือยื่นออไปที่บริเวณทางเดิน เพราะถ้า ผู้ทำงานเดินผ่านและชนถูกด้ามถือนั้น จะทำให้อาหารหกรดเตาไฟ และบริเวณข้างเคียง
8. อย่าหันด้ามถือของภาชนะไปที่บนเตาไฟที่ร้อน
9. เมื่อต้องของหนัก ให้ยกโดยออกกำลังที่แขนและขา อย่าใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังในการยกของหนัก
10. ถ้าต้องยกภาชนะอาหารที่ร้อนและหนัก ให้ขอร้องผู้ทำงานคนอื่นช่วยยกอย่าพยายามยกด้วยตนเอง เพราะจะเกิดอันตรายได้ง่าย
11. จุดไม้ขีดและจ่อบนหัวเตาแก๊ส ก่อนที่จะเปิดแก๊ส
12. มีอุปกรณ์ดับเพลิงในห้องผลิตอาหาร และผู้ทำงานต้องรู้ว่าวางที่ไหน และรู้จักวิธีใช้
13. ห้องผลิตอาหารต้องสะอาดตลอดเวลา
14. ผู้ทำงานต้องสนใจในงานที่กำลังปฏิบัติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการเลิ่นเล่อ
15. การส่งผ่านสิ่งของในห้องผลิตอาหาร ห้ามใช้วิธีการโยน
16. ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ให้รักษาพยาบาลด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
กฎปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้มีด ของมีคม(Knife)
1. เลือกใช้ชนิดของมีดที่ถูกต้องกับการเตรียมอาหารเฉพาะอย่าง
2. อย่าพยายามฉวยหรือจับมีดในขณะที่กำลังหล่น แต่ให้ถอยหลังทันที เพื่อไม่ให้หล่นใส่ผู้ทำงาน
3. ใช้มีดโดยให้ปลายมีดกดลงบนอาหาร และคมมีดหันออกห่างจากผู้ทำงาน
4. ไม่ควรจุ่มมีดในน้ำเดือด เพราะด้ามถือที่ทำด้วยไม้จะแตกและเสียได้ง่ายและห้ามควานหามีดหรือของมีคมในน้ำสบู่ เพราะอาจถูกบาดได้
5. ไม่ควรพูดคุย หรือเล่น ในขณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับของมีคม
6. เมื่อต้องตัดหรือหั่นอาหาร ให้ทำบนเขียง
7. ไม่ควรเก็บรักษาของมีคมในลิ้นชัก แต่ให้เก็บในกระบะ หรือซอง หรือแขวนไว้ที่ข้างฝาเพื่อสะดวกต่อการหยิบใช้
8. การทำความสะอาดหรืเช็ดของมีคม ให้คมมีดหันออกนอกตัวผู้ทำงาน
9. หมั่นลับมีดให้คมเสมอ ทำให้ไม่ต้องเสียแรงงานมากในการทำงาน
10. ใช้มีดเพื่อการตัดหั่น สับอาหาร แต่ไม่นำไปเปิดจุกขวด หรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่หน้าที่อันแท้จริงของมีด
11. หยิบ หรือจับมีดที่ด้ามถือเท่านั้น และจับให้แน่น ไม่ควรให้ด้ามมีดเปื้อนน้ำมัน เพราะนะทำให้ลื่น
กฎปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่วางกับที่(Stationary Equipment)
1. ห้ามใช้มือในการดันเนื้อลงในเครื่องบดเนื้อ
2. การทำความสะอาดเครื่องมือ ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้าออกก่อน
3. ขณะทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าให้ถอดแหวน นาฬิกา และเนคไทออก
4. ต้องตรวจสภาพของเครื่องมือก่อนใช้
5. ต้องรู้จักวิธีการใช้เครื่องมือย่างถูกต้อง ก่อนการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด
6. ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือ แต่ละชนิดอย่างเคร่งครัด
กฎปลอดภัยเกี่ยวกบเครื่องแต่งตัว(Clothing)
1. สวมรองเท้าทุกครั้งที่ปฏิบัติงานในห้องผลิตอาหาร ส้นรองเท้าควรทำจากยางเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม
2. ใส่เสื้อคลุม และผ้ากันเปื้อน เพื่อป้องกันการกระเด็นของน้ำมันหรืออาหารโดนผิวหนังของผู้ทำงาน
3. สวมหมวก หรือตาข่ายคลุมผม ขณะผลิตอาหาร
กฎปลอดภัยเกี่ยวกับภาชนะกระเบื้องและแก้ว(China and Glassware)
1. ทิ้งถ้วยหรือภาชนะที่ร้าวหรือแหว่ง
2. ไม่ควรเก็บถ้วยหรือแก้วที่หล่นแตกด้วยมือ ให้ใช้ ไม้กวาด หรือแปรง
3. ให้ใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายถ้วยหรือแก้ว
กฎปลอดภัยเกี่ยวกับพื้นห้อง(Floors)
1. ไม่ควร ยืนบนพื้นที่เปียก ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
2. ถ้ามีอาหารหรือน้ำมันหกรดพื้น ให้ทำความสะอาดทันที หรือถ้าจำเป็นให้เทเกลือบนพื้นเพื่อไม่ให้ลื่น
3. ไม่วางภาชนะ ถ้วย ชาม จาน พื้นห้อง
4. ห้ามวิ่งในห้องผลิตอาหาร ให้เดินด้วยความระมัดระวัง
พนักงานบางคนไม่เห็นความสำคัญของกฎปลอดภัยนี้จนกว่าอุบัติเหตุได้เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งถ้าเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยก็ไม่ร้ายแรงหรือไม่เสียหายมากนัก แต่ถ้าเป็นอุบัติเหตุรุนแรงที่ต้องเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายก็จะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ทัน ดังนั้นการแนะนำอบรมการระมัดระวังและการรู้จักการทำงานที่ถูกต้องจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ หรือาจช่วให้ไม่เกิดอุบัติเหตุเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น