วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

http://dallasbrides.files.wordpress.c...


ของหวาน..หวานฉ่ำคลายร้อน
 



http://dallasbrides.files.wordpress.com/2008/04/hero_icecream.jpg
 
 

     พอถึงหน้าร้อนทีไร ช่วงกลางวันที่ร้อน...ร้อนกว่า 40 องศาอย่างนี้ ชวนให้นึกถึงของหวานๆเย็นๆเนื้อเนียนนุ่มเมื่อสัมผัสกับลิ้นแล้วทำให้รู้สึกกระชุ่มกระช่วยคลายร้อนไปชั่วขณะหนึ่ง ใช่แล้ว... ไอติมตามภาษาท้องถิ่นภูเก็ตที่เขาเรียกกัน ของหวานแช่แข็งนี้มีมานานแสนนานตั้งแต่ครั้งโบราณ พบหลักฐานว่าคนโบราณนำหิมะและน้ำแข็งธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไปแต่คำตอบที่ได้ก็ไม่สมบูรณ์มากนัก แต่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดคือ โรงน้ำแข็งในเขตเมโสแตเมียซึ่งมีอายุกว่า 4000ปีและในจีนมีอายุกว่า 1000 ปีก่อนคริสตกาลโน่นแน่ะ โดยชาวจีนใช้หิมะและน้ำแข็งในการถนอมอาหารเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวตะวันตก นับแต่สมัยโรมันจนถึงศตวรรษที่ 14 – 15 ใช้หิมะและน้ำแข็งในการแช่ไวน์ไว้ดื่มเย็นๆในหน้าร้อนเป็นงั้นไป จะมีก้อแต่ชาวเปอร์เซียและตุรกีเท่านั้นที่ใช้หิมะและน้ำแข็งมาทำเป็นเครื่องดื่มหวานเย็นที่เรียกว่า Sharbat or Sherbet อ้างกันว่าชาวเปอร์เซียและเติร์กดื่ม หรือ กินชาร์บาทเพื่อดับกระหายในหน้าร้อนมาช้านาน อย่างน้อยก็ตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 5 โน่น จาก ชาร์บาท และเชอร์เบท ถึงไอศกรีมกลับมีความเชื่อถ่ายทอดกันมาว่า จีนเป็นต้นกำเนิดของไอศกรีม โดยสมัยโบราณมีการนำหิมะบนยอดเขามาผสมกับน้ำผลไม้ และกินในขณะที่หิมะยังไม่ละลายดีจนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โค โปโล นักสำรวจชาวอิตาเลียนเดินทางไปจีนจึงนำสูตรกลับไปอิตาลี ขณะเดินทางได้เติมนมลงไปจนกลายเป็นสูตรของเขาโดยเฉพาะจนแพร่หลายในอิตาลี ฝรั่งเศลและข้ามไปยังอังกฤษ แต่ก็แปลกที่มีนักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่าไม่จริง มาร์โค โปโล ไม่ได้เขียนบันทึกไว้อย่างนั้นหรือกระทั่งเป็นไปได้ว่าจริงๆแล้วมาร์โค โปโล ไม่ได้เดินทางไปเมืองจีนเสียด้วยซ้ำแต่เขียนขึ้นจากจิตนาการและการตีบันทึกจากนักเดินทางคนอื่น เอลิซาเบท เดวิด ผู้ศึกษาประวัติศาตร์น้ำแข็งอย่างถึงแก่นอ้างว่า แม้จะใช้น้ำแข็งในการถนอมอาหารและแช่ผลไม้มาช้านาน แต่คนจีนก็ไม่มีวัฒนธรรมในการดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำแข็งก่อนที่จะได้ อิทธิพลจากฝรั่งต่างชาติเมื่อราวประมาณกว่าร้อยปีที่แล้ว พิจารณาจากหลักฐานแล้วข้อสรุปที่สอดคล้องกันมากที่สุดแล้ว คือ เชอร์เบท เป็นของตุรกีและชาวเปอร์เซีย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของไอศกริม            อย่างไรก็ดีในเมืองไทยก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าไอศกริมได้เข้ามาเมืองไทยในช่วงใด แต่คาดเดากันว่าน่าจะเข้ามาในช่วงรัชกาลที่ 5 หลังจากเสด็จฯ ไปยังอินเดีย ชวา สิงคโปร ทรงสั่งนำเข้าเครื่องทำน้ำแข็งที่ผลิตไอศกรีมจากสิงคโปรมาเพื่เจ้านายในพระบรมมหาราชวัง ไอศกรีมยุคนั้นทำจากน้ำมะพร้าวอ่อนและเสริฟในแก้วแชมเปญ ต่อมาชาวบ้านคนจีน ( คนจีนเป็นชาติที่ลอกเลียนแบบมาตั้งแต่โบราณกันเลยเหรอเนี่ย)ได้นำสูตรมาดัดแปลงสูตรทำไอศกรีมขายที่เยาวราช ในช่วงรัชกาลที่ 7 และพัฒนามาเป็นไอศกรีมหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ไอศกรีมแต่ละแบบเรียกชื่อต่างกันไปตามส่วนผสมและการตกแมต่งในการนำเสนอที่ต่างกันไปมากมายทั้ง Standard Ice cream, Frozen custard ice cream หรือเรียกอีกอย่าง French custard ice cream, Granita, Sorbet, Sherbet,Soft ice cream,Parfait หรือ New York ice cream,Sundae,Banana split,Peach melba หรือแม้กระทั่ง Deep fried ice cream ฯลฯ

 

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Another very popular nerve pain exercise! Thus, their therapeutic treatment for pain relief.

Here, home, I am doing it. Avoid sleeping
on hard to breathe!

Feel free to visit my blog post: Acupuncture Back Pain Cason
Feel free to surf my website - acupuncture back pain Cason