Date อินทผาลัม
อินทผาลัม ชื่อสามัญ Dates ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix dactylifera, L. เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณประเทศแถบตะวันออกกลาง ผลมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ ทานได้ทั้งผลดิบและสุก เมื่อสุกแล้วเอาไปตากแห้งสามารถเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี มีรสชาติหวานจัด จนมีคนเข้าใจผิดคิดว่าถูกเชื่อมด้วยน้ำตาล
สำหรับประโยชน์ของอินทผลัม
มีอยู่ 2 ด้านคือ ด้านคุณค่าทางโภชนาการ เพราะอินทผลัมมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก เช่น ซัลเฟอร์ เหล็ก โพแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แมงกานีส และน้ำมันโวลาไดท์ เป็นต้น มีเส้นใยมาก ช่วยลดอาการท้องผูกและทำให้ย่อยง่าย รวมทั้งให้พลังงานสูง ทำให้ร่างกายที่อ่อนเพลียกลับมีกำลังวังชาเท่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถบำรุงกล้ามเนื้อมดลูกและสร้างน้ำนมแม่ด้วย อีกด้านหนึ่งคือด้านการรักษาโรค อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา ลดความหิว แก้กระหาย แก้โรควิงเวียนศีรษะ ช่วยลดเสมหะ ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อโรค พยาธิและสารพิษที่ตกอยู่ในลำไส้และระบบทางเดินอาหารเพราะอินทผลัมมีฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอันเป็นสารก่อมะเร็งในช่องท้องได้
จากรายงานการวิจัยของ King Saud University ซาอุดิอาระเบีย ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology ปี 2005 ทำการทดลองโดยให้สารสกัดจากอินทผาลัมและเมล็ดให้กับหนูRat ในขนาด 4 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ต่อเนื่องกันนาน 14 วัน โดยใช้ Ethanol เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนู เปรียบเทียบกับยา Lansoprazole ขนาด 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม พบว่า สารสกัดจากน้ำและEthanol ที่ได้จากผลอินทผาลัมและเมล็ดนั้น ทำให้ความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหารลดลงและยังช่วยบรรเทาการหลั่งฮิสตามีน และ gastrin จากการเหนี่ยวนำด้วย Ethanol และยังลดระดับมิวซิน (mucin) ในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย จากการทดลองครั้งนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่าความสามารถป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารของสารสกัดจากอินทผาลัม อาจเกิดจากหลายๆปัจจัย รวมทั้งอาจเกิดจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า
“ ผู้ใดที่รับประทานอินทผาลัมที่มาจากอัจวะฮฺ 7 เม็ดในตอนเช้าแล้ว ในวันนั้น
พิษร้ายหรือเวทมนตร์จะไม่ทำอะไรเขาเลยตลอดวัน ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น